คลังความรู้
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อการจัดการศึกษาในอนาคต
กลุ่มประเทศ | |||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
รวบรวมโดยนักศึกษาปริญญาโท การบริหารการศึกษา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต รุ่นที่ 1
——————————————————————————————————————————————-
มารู้จักศาลโลกกันเถอะ
สวัสดีครับเพื่อนร่วมโลกที่รักบทความพิเศษเป็นฉบับแรกในการใช้วิชาชีพเป็นครูบาอาจารย์ที่วิทยาลัยพิชญบัณฑิตของเรา อีกเพียง 2 วันเท่านั้น คือ วันที่ 11 พฤศ
จิกายน 2556 เป็นวันตัดสินคดีของศาลโลก ในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่รอบตัวปราสาท 4.6 ตารางกิโลเมตรจะเป็นของใครระหว่างมุมแดง ประเทศเขมร หรือกัมพูชา กับมุมน้ำเงิน ประเทศไทย
เมื่อปีพ.ศ.2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาแต่พื้นที่รอบตัวปราสาทไม่ระบุว่าเป็นของประเทศใด แต่ในความเป็นจริงแล้วพื้นที่รอบตัวปราสาทเขมรได้ขนประชาชนไปอยู่อาศัยเต็มพื้นมีทั้งบ้านเรือนและวัด ประเทศไทยได้แต่มองตาปริบๆ และอีกสองวันข้างหน้าจะรู้ว่าหมู่หรือจ่า
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับศาลโลกเถอะ
ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นองค์กรหลักด้านตุลาการของระบบสหประชาชาติ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐและสร้างเสริมสันติภาพ
ศาลโลกประกอบด้วย (1) องค์คณะซึ่งมีผู้พิพากษาที่ได้รับการเลือกตั้ง 15 ท่านจากเสียงข้างมากของสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี (2) นายทะเบียนศาล ทำหน้าที่รับผิดชอบงาน บริหารธุรการของศาล
องค์คณะผู้พิพากษาจะต้องประกอบด้วย ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติแตกต่างกัน เพื่อเป็นตัวแทนจากระบบอารยธรรมหลักและระบบกฎหมายต่างๆ ของโลก ในทางปฏิบัติมีการกระจายสัดส่วนของผู้พิพากษาระหว่างภูมิภาค คือจากแอฟริกา 3 ท่าน ละตินอเมริกาและคาริบเบียน 2 ท่าน เอเชีย 3 ท่าน ยุโรปตะวันตกและรัฐอื่นๆ 5 ท่านและยุโรปตะวันออกอีก 2 ท่าน
ผู้พิพากษาต้องเป็นอิสระจากรัฐของตนและมีคุณธรรมสูงส่ง มีคุณสมบัติเป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุดในประเทศของตน และมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศเป็นอย่างดี
ศาลโลกมีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดี 2 ประเภท คือ
1. ข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างรัฐ 2 รัฐขึ้นไป
2. ให้คำปรึกษาในประเด็นข้อกฎหมายแก่หน่วยงานและทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
ข้อพิพาทส่วนใหญ่ที่นำขึ้นสู่ศาลโลกจะเป็นข้อพิพาท เรื่องเขตแดนหรืออธิปไตยเหนือดินแดน (เช่น กรณีที่กัมพูชาร้องเรียนเรื่องปราสาทพระวิหารกับไทย) และคดีประเภทอื่น
คำพิพากษาของศาลโลกมีผลผูกพันตามกฎหมายและเป็นคำพิพากษาเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่สามรถอุทธรณ์ได้อีก ทำให้คำพิพากษาของศาลโลกต่างกับคำพิพากษาของศาลภายในรัฐที่แบ่งออกเป็น 3 คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
อย่างไรก็ตามแม้ผลคดีจะออกมาในด้านที่เป็นผลลบหรือผลบวกกับประเทศไทยหรือกัมพูชาแต่ความเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงมีรัวรอบขอบชิดติดกันก็เป็นเพื่อนร่วมโลกที่ต้องอยู่ด้วยกันชั่วฟ้าดินสลายและตัวปราสาทตลอดจนพื้นที่รอบตัวปราสาทในที่สุดแล้วก็ตกเป็นสมบัติของโลกเช่นเดิม เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง
ที่มา : จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556
สถิตย์ ถาวงษ์กลาง
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ผู้รวบรวม
9 พ.ย. 2556